จะเห็นได้นะคะ ว่าบรรบุรุษเรา ให้ความสนใจกับเรื่องของจิตของใจนี้มาก มากขนาดมองเห็นถึง "ลักษณะ" ที่แปรไปต่างๆของจิต ที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แต่รู้สึก รับรู้ได้นี้อย่างกว้างขวางและตรงตามจริงทีเดียว
อ้าวถ้าไม่เชื่อจะลองพิสูจนฺกันดูก็ได้ ว่าจริงตามที่คุณปู่คุณทวดเราพบเห็น และนำมาพูดให้เป็นมรดกของเราจริงไหม เริ่มจากตอนนี้เลยที่ลอง "แอบ"สังเกต คือให้ลองรู้สึกสบายๆ เข้าไปที่ใจตัวเองตอนที่อ่านบทความอยุ่ขณะนี้ว่าเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในภาวะปกติ ใจเป็นปกติ ธรรดากันนะค่ะ ขอให้จำสภาวะนี้ไว้ คราวนี้ขอให้ลองนึกถึงภาพเด็กๆ ในชุมชนแออัด สมมติว่า อยู่หน้าปากซอยบ้านที่คุณขับรถผ่านทุกวันแล้วกัน ไม่มีข้าวกิน ต้องรื้อค้นถังขยะ หาอะไรไปขายพอให้มีเศษเงินนำมาซื้อข้าวคลุกน้ำปลากินประทังชีวิต เสื้อผ้าขาดวิ่นดำด่างมอมแมม ขนาดบอกว่าผ้าเช็ดเท้าที่บ้านยังสะอาดกว่าก็ยังได้ เรื่อง เรียน เรื่องการแสวงหาความรู้ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ไม่มีโอกาสเข้าไปใช้ชีวิตสมวัยเหมือนเด็กๆทั่วๆไป นึกให้เห็นภาพชัดนะค่ะ ให้หน้าตาเขาเหมือนเด็กที่ชวนคุณเอ็นดู สงสาร แล้วลองมองย้อนมาในใจตัวเองเชื่อว่าคุณจะเห็นถึงความแตกต่างระหว่างครั้งนี้ กับครั้งแรกได้ไม่ยากเลย คือจากใจปกติ สบายๆ กลายเป็นใจที่มีน้ำหนัก มีขอบเขตขึ้นมา หากสังเกตุให้ดี อาจสัมผัสได้ถึงกระแสเศร้านี้เกิดขึ้นด้วยค่ะ
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
การเจริญ พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร 4
ความหมายของพรหมวิหาร 4- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา
ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา
ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา
การรู้จักวางเฉย
คำอธิบายพรหมวิหาร 41. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ความหมายของพรหมวิหาร 4- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา
ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา
ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา
การรู้จักวางเฉย
คำอธิบายพรหมวิหาร 41. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
การใช้ Channels (Photoshop)
การใช้ channel เพื่อสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษ
โหมดสีแต่ละโหมดจะประกอบด้วยแม่สีที่แตกต่างกันไป เช่น โหมดRGB ประกอบด้วย 3 สี ได้ แดง
เขียว และน้ำเงิน ขณะที่โหมด CMYK จะประกอบด้วย ฟ้า ม่วงแดง เหลือง และดำ
สีแต่สีดังกล่าวจะถูกแยกจัดเก็บไว้ เป็นคนละส่วนกันในภาพ (เหมือนกับเป็นภาพย่อยที่มีเฉพาะสีนั้นๆ) เรียกว่า “แชนแนล” เช่นสีแดงอยู่ในแชนแนล red สีเขียวอยู่ใน แชนแนล Green สีน้ำเงินอยู่ใน Channel Blue
เทคนิคพิเศษในการตกแต่งภาพหลายๆอย่างก็เกิดจากการทำงานแชนแนล เช่นการปรับสีในแต่ละแชนแนล หรือการผสมผสานแชนแนลของไฟล์ต่างๆเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังสามารถใช้แชนแนลในการสร้าง Mask ที่เรียกว่า Alpha Channel
โปรแกรม photoshop สามารถสร้าง แชนแนลได้มากถึง 24 แชนแนล ใน 1 ไฟล์ไม่ว่าจะเป็นแชนแนลของแต่ละสี แชนแนลสีพิเศษ (Spot Channel) หรือ Alpha Channel ก็ตาม
พาเลท Channels
การเปิดพาเล็ต แชนแนล ทำได้โดยเลือกคำสั่ง window -> Channels จากเมนูโดยในพาเล็ตนี้จะประกอบด้วยแชนแนลสีต่างๆ ที่มีใช้ในโหมดสีของไฟล์ปัจจุบัน คุณสามารถกำหนดให้แสดงเฉพาะแชนแนลที่ต้องการได้โดยคลิกลงบน แชนแนล นั้นๆหรือ คลิกไอคอนรูปดวงตาด้านหน้าแชนแนลด้านหน้าแชนแนลเพื่อซ่อน/แสดง แชนแนล
ในโหมดภาพที่มีมากกว่า 1 แชนแนล เช่น RGB หรือ CMYK เมื่อดูใน พาแลท แชนแนล จะเห็นสีหลักๆ อยู่แยกกัน นอกจากนี้ยังมีแชนแนลรวมที่เรียกว่า Cpmposite Channel อยู่ด้านบนสุด ซึ่ง แชนแนล นี้ไม่ไช่แชนแนลที่แท้จริง แต่เป็นส่วนที่โปรแกรมจัดไว้เพื่อให้เราดูหรือแก้ไขภาพในทุกแชนแนลสีได้พร้อมกัน
คุณอาจสังเกตว่าภาพไอคอนที่แสดงอยู่ในแชนแนลสีแต่ละช่องนั้น เป็นภาพขาวดำ แทนที่จะเป็นสีตามสีของ แชนแนล ความจริงแล้วสิ่งที่โปรแกรมจัดเก็บในแต่ละแชนแนลก็คือภาพขาวดำซึ่งแทนโทนสีของแชนแนลนั้นนั่นเอง เช่นในแชนแนล Red ก็จะเก็บภาพขาวดำซึ่งแทนโทนสีแดงของภาพ ดังนั้นหากคุณเลือกแสดงแชนแนลใดแชนแนลหนึ่งเพียงอันเดียวคุณจะเห็นภาพปรากฏเป็นขาวดำ แต่ถ้าเลือกแสดงมากกว่า 1 แชนแนล โปรแกรมจึงจะเริ่มผสมสี จากแต่ละแชนแนล เข้าด้วยกัน ทำให้เรามองเห็นภาพมีสีสันขึ้นมา
คุณสามารถสั่งให้โปรแกรมแสดงสีในแต่ละแชนแนลตามสีในแต่ละแชนแนล ตามสีของมันเอง (เช่น แชนแนล Red ให้แสดงภาพเป็นสีแดง) โดยเลือกคำสั่ง Edit-> Preferences ->Display ->Cursors แล้วเลือกออปชั่น Color Channels in Color
การปรับต่างสีโดยใช้แชนแนล
เราสามารถปรับแต่งสีของรูปภาพโดยใช้แชนแนล เนื่องจากแต่ละแชนแนลคือข้อมูลของสีหลักแต่ละสีซึ่งมีลักษณะเป็นภาพขาวดำแบบ Grayscale เมื่อคุณเปลี่ยนภาพเหล่านี้จะทำให้ข้อมูลของสีหลักเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลให้สีโดยรวมในรูปภาพเปลี่ยน
1.คลิกเลือกแชนแนลที่ต้องการปรับสี
2.สร้าง selection รอบส่วนที่ต้องการปรับแต่ง แล้วใช้เครื่องมือระบายสี หรือคำสั่งสำหรับตกแต่งภาพต่างๆ เพื่อแก้ไขภาพ
3.ทำข้อ 1-2 ซ้ำ สำหรับแชนแนลสีอื่นอีกตามต้องการ
4.เลือก แชนแนลสีรวม (Composite Channel)เพื่อดูผลลัพธ์โดยรวม
***ถ้าต้องการปรับสีเพิ่ม --- ให้ระบายด้วยสีอ่อน(ขาว) ***
++แต่ถ้าต้องการลดสีลง ------ ให้ระบายด้วยสีเข้ม (ดำ)+++
นอกจากการปรับเพิ่มหรือลดสีตามธรรมดาแล้วคุณยังสามารถสร้างเอฟเฟ็คให้กับภาพด้วยการดัดแปลงภาพในแชนแนล เช่นการใส่ฟิลเตอร์ชนิดต่างๆเป็นต้น
การสร้างเอฟเฟคต์พิเศษให้ภาพโดยการแยก และ รวม แชนแนล
ในการสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษ สามารถทำได้โดยการแยกแต่ละแชนแนลออกเป็นคนละไฟล์กัน ไฟล์ที่แยกออกมาจะอยู่ในโหมด Grayscale จากนั้นจึงปรับแต่งด้วยฟิลเตอร์หรือคำสั่งต่างๆ แล้วนำไฟล์แชนแนลหรือ บางแชนแนลเข้าด้วยกันเพื่อสร้างไฟล์ใหม่ที่มีเอฟเฟ็คต์แปลกตา
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้การแยกแชนแนลเพื่อลดขนาดของแต่ละไฟล์จนสามารถบันทึกลงบนแผ่นดิสก์ได้
การแยกแชนแนลทำได้กับไฟล์ที่มีเฉพาะเลเยอร์ Background เท่านั้น
การแยกแชนแนล.
การแยกแชนแนลทำได้โดยคลิกปุ่ม > บนพาเล็ท แชนแนล แล้วเลือกคำสั่ง split channels จากนั้นโปรแกรมจะแยกแชนแนลออกเป็นไฟล์ต่างๆ ในโหมด Grayscale ส่วนไฟล์ต้นฉบับจะถูกปิดไป
การปรับต่างแต่ละแชนแนล
1.คลิกเลือกไฟล์ของแชนแนลที่ต้องการปรับแต่ง
2.ปรับแต่งแสงเงาหรือใส่เอ็ฟเฟ็ตตามต้องการ
3.ปรับออปชั่นแล้วคลิกปุ่ม ok
4.ปรับแต่งไฟล์ของแชนแนลอื่นๆอีกตามต้องการ
การรวมแชนแนล
1. ลิกปุ่ม > บนพาเล็ต แชนแนล ของไฟล์ใดไฟล์หนึ่งแล้ว เลือกคำสั่ง Merge Channels
2. ในการรวมไฟล์กลับไปเป็นโหมดสีจำนวนแชนแนลเดิมให้คลิกปุ่ม OK บนไดอะล็อกบ็อกซ์ Merge Channels ทันที
3.จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Merge RGB channels ซึ่งคุณสามารถกำหนด
โหมดสีแต่ละโหมดจะประกอบด้วยแม่สีที่แตกต่างกันไป เช่น โหมดRGB ประกอบด้วย 3 สี ได้ แดง
เขียว และน้ำเงิน ขณะที่โหมด CMYK จะประกอบด้วย ฟ้า ม่วงแดง เหลือง และดำ
สีแต่สีดังกล่าวจะถูกแยกจัดเก็บไว้ เป็นคนละส่วนกันในภาพ (เหมือนกับเป็นภาพย่อยที่มีเฉพาะสีนั้นๆ) เรียกว่า “แชนแนล” เช่นสีแดงอยู่ในแชนแนล red สีเขียวอยู่ใน แชนแนล Green สีน้ำเงินอยู่ใน Channel Blue
เทคนิคพิเศษในการตกแต่งภาพหลายๆอย่างก็เกิดจากการทำงานแชนแนล เช่นการปรับสีในแต่ละแชนแนล หรือการผสมผสานแชนแนลของไฟล์ต่างๆเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังสามารถใช้แชนแนลในการสร้าง Mask ที่เรียกว่า Alpha Channel
โปรแกรม photoshop สามารถสร้าง แชนแนลได้มากถึง 24 แชนแนล ใน 1 ไฟล์ไม่ว่าจะเป็นแชนแนลของแต่ละสี แชนแนลสีพิเศษ (Spot Channel) หรือ Alpha Channel ก็ตาม
พาเลท Channels
การเปิดพาเล็ต แชนแนล ทำได้โดยเลือกคำสั่ง window -> Channels จากเมนูโดยในพาเล็ตนี้จะประกอบด้วยแชนแนลสีต่างๆ ที่มีใช้ในโหมดสีของไฟล์ปัจจุบัน คุณสามารถกำหนดให้แสดงเฉพาะแชนแนลที่ต้องการได้โดยคลิกลงบน แชนแนล นั้นๆหรือ คลิกไอคอนรูปดวงตาด้านหน้าแชนแนลด้านหน้าแชนแนลเพื่อซ่อน/แสดง แชนแนล
ในโหมดภาพที่มีมากกว่า 1 แชนแนล เช่น RGB หรือ CMYK เมื่อดูใน พาแลท แชนแนล จะเห็นสีหลักๆ อยู่แยกกัน นอกจากนี้ยังมีแชนแนลรวมที่เรียกว่า Cpmposite Channel อยู่ด้านบนสุด ซึ่ง แชนแนล นี้ไม่ไช่แชนแนลที่แท้จริง แต่เป็นส่วนที่โปรแกรมจัดไว้เพื่อให้เราดูหรือแก้ไขภาพในทุกแชนแนลสีได้พร้อมกัน
คุณอาจสังเกตว่าภาพไอคอนที่แสดงอยู่ในแชนแนลสีแต่ละช่องนั้น เป็นภาพขาวดำ แทนที่จะเป็นสีตามสีของ แชนแนล ความจริงแล้วสิ่งที่โปรแกรมจัดเก็บในแต่ละแชนแนลก็คือภาพขาวดำซึ่งแทนโทนสีของแชนแนลนั้นนั่นเอง เช่นในแชนแนล Red ก็จะเก็บภาพขาวดำซึ่งแทนโทนสีแดงของภาพ ดังนั้นหากคุณเลือกแสดงแชนแนลใดแชนแนลหนึ่งเพียงอันเดียวคุณจะเห็นภาพปรากฏเป็นขาวดำ แต่ถ้าเลือกแสดงมากกว่า 1 แชนแนล โปรแกรมจึงจะเริ่มผสมสี จากแต่ละแชนแนล เข้าด้วยกัน ทำให้เรามองเห็นภาพมีสีสันขึ้นมา
คุณสามารถสั่งให้โปรแกรมแสดงสีในแต่ละแชนแนลตามสีในแต่ละแชนแนล ตามสีของมันเอง (เช่น แชนแนล Red ให้แสดงภาพเป็นสีแดง) โดยเลือกคำสั่ง Edit-> Preferences ->Display ->Cursors แล้วเลือกออปชั่น Color Channels in Color
การปรับต่างสีโดยใช้แชนแนล
เราสามารถปรับแต่งสีของรูปภาพโดยใช้แชนแนล เนื่องจากแต่ละแชนแนลคือข้อมูลของสีหลักแต่ละสีซึ่งมีลักษณะเป็นภาพขาวดำแบบ Grayscale เมื่อคุณเปลี่ยนภาพเหล่านี้จะทำให้ข้อมูลของสีหลักเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลให้สีโดยรวมในรูปภาพเปลี่ยน
1.คลิกเลือกแชนแนลที่ต้องการปรับสี
2.สร้าง selection รอบส่วนที่ต้องการปรับแต่ง แล้วใช้เครื่องมือระบายสี หรือคำสั่งสำหรับตกแต่งภาพต่างๆ เพื่อแก้ไขภาพ
3.ทำข้อ 1-2 ซ้ำ สำหรับแชนแนลสีอื่นอีกตามต้องการ
4.เลือก แชนแนลสีรวม (Composite Channel)เพื่อดูผลลัพธ์โดยรวม
***ถ้าต้องการปรับสีเพิ่ม --- ให้ระบายด้วยสีอ่อน(ขาว) ***
++แต่ถ้าต้องการลดสีลง ------ ให้ระบายด้วยสีเข้ม (ดำ)+++
นอกจากการปรับเพิ่มหรือลดสีตามธรรมดาแล้วคุณยังสามารถสร้างเอฟเฟ็คให้กับภาพด้วยการดัดแปลงภาพในแชนแนล เช่นการใส่ฟิลเตอร์ชนิดต่างๆเป็นต้น
การสร้างเอฟเฟคต์พิเศษให้ภาพโดยการแยก และ รวม แชนแนล
ในการสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษ สามารถทำได้โดยการแยกแต่ละแชนแนลออกเป็นคนละไฟล์กัน ไฟล์ที่แยกออกมาจะอยู่ในโหมด Grayscale จากนั้นจึงปรับแต่งด้วยฟิลเตอร์หรือคำสั่งต่างๆ แล้วนำไฟล์แชนแนลหรือ บางแชนแนลเข้าด้วยกันเพื่อสร้างไฟล์ใหม่ที่มีเอฟเฟ็คต์แปลกตา
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้การแยกแชนแนลเพื่อลดขนาดของแต่ละไฟล์จนสามารถบันทึกลงบนแผ่นดิสก์ได้
การแยกแชนแนลทำได้กับไฟล์ที่มีเฉพาะเลเยอร์ Background เท่านั้น
การแยกแชนแนล.
การแยกแชนแนลทำได้โดยคลิกปุ่ม > บนพาเล็ท แชนแนล แล้วเลือกคำสั่ง split channels จากนั้นโปรแกรมจะแยกแชนแนลออกเป็นไฟล์ต่างๆ ในโหมด Grayscale ส่วนไฟล์ต้นฉบับจะถูกปิดไป
การปรับต่างแต่ละแชนแนล
1.คลิกเลือกไฟล์ของแชนแนลที่ต้องการปรับแต่ง
2.ปรับแต่งแสงเงาหรือใส่เอ็ฟเฟ็ตตามต้องการ
3.ปรับออปชั่นแล้วคลิกปุ่ม ok
4.ปรับแต่งไฟล์ของแชนแนลอื่นๆอีกตามต้องการ
การรวมแชนแนล
1. ลิกปุ่ม > บนพาเล็ต แชนแนล ของไฟล์ใดไฟล์หนึ่งแล้ว เลือกคำสั่ง Merge Channels
2. ในการรวมไฟล์กลับไปเป็นโหมดสีจำนวนแชนแนลเดิมให้คลิกปุ่ม OK บนไดอะล็อกบ็อกซ์ Merge Channels ทันที
3.จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Merge RGB channels ซึ่งคุณสามารถกำหนด
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วิธีป้องกันและรักษาโรค
ในหนังสือพระไตรปิฏกทั้งหมด มีเรื่องราวเกี่ยวกับการทำให้อายุยืนยาว การบริหารการ การรู้จักใช้เครื่องอุปโภคบริโภค การป้องกันโรคทางจิตใจ และการรักษาโรคทางร่างกาย ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม
ชีวิตยืนยาว
น้อยรายนักที่จะคาดคิดถึงว่า การที่คนเราจะเอาตัวรอดไปได้ จนกว่าจะถึงวันตาย ด้วยการมีอายุที่ยืนยาวเป็นสุขนั้น ไม่เพียงต้องคำนึงแค่เรื่องอาหารการกินที่เป็นประโยชน์ การออกกำลังกาย อารมณ์ที่ดี และยารักษาโรคเท่านั้น แต่ยังจะต้องมีพฤติกรรมที่สำคัญอื่นๆอีก เช่นดังที่พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า
ชีวิตยืนยาว
น้อยรายนักที่จะคาดคิดถึงว่า การที่คนเราจะเอาตัวรอดไปได้ จนกว่าจะถึงวันตาย ด้วยการมีอายุที่ยืนยาวเป็นสุขนั้น ไม่เพียงต้องคำนึงแค่เรื่องอาหารการกินที่เป็นประโยชน์ การออกกำลังกาย อารมณ์ที่ดี และยารักษาโรคเท่านั้น แต่ยังจะต้องมีพฤติกรรมที่สำคัญอื่นๆอีก เช่นดังที่พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า
- ต้นเหตุที่ทำให้อายุยืน มี 7 ประการ
- เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง
- รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย
- บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
- เที่ยวไปในการละอันสมควร
- ประพฤติเพียงดังพรหม(มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
- เป็นผู้มีศีล
- คบมิตรที่ดีงาม
นอกจากเหตุ 7 ประการที่จะช่วยให้อายุยืนยาวได้แล้ว ยังมีคำตรัสของพระพุทธองค์ที่ทรงกำชับไว้ แม้ภิกษุที่เจ็บป่วยอยู่ก็ พึงอดทนรักษากรรม 3 ของตนไว้ให้ดี หากทำได้ ย่อมพาไปสู่ความเป็นผู้มีอายุยืนเป็นสุขแน่นอน
- พึงอดทนความหนาวและความร้อน
- ถึงแม้ถูกกระทบก็ ไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
- พึงทำความบากบั่นคือ ความเพียรให้มั่นไว้(เพียรในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต)
ชีวิตคนเราจะยั่งยืนนาน เจอทั้งความสมบูรณ์แข็งเรงปกติ และผจญทั้งโรคภัยเบียดเบียน ล้วนคละเคล้าไปตามจังหวะของชีวิต แต่ไม่ว่าจะเจอกับอุปสรรคโรคภัยใดๆ หากผู้นั้นใช้อิทธิบาท 4(1.ฉันทะคือความยินดี 2วิริยะคือความเพียร 3.จิตตะคือความตั้งใจจริง 4.วิมังสาคือความพิจารณาไตร่ตรอง) เข้าช่วยแล้วอายุของผู้นั้นย่อมยืดยาวออกไปกว่าเดิมได้แน่
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
เป็นไฉนใยเกิดโรค
บางคน แม้ยังหนุ่มสาวร่างกายแข็งแรงดีมาก แต่อยู่ดีๆก็ทรุดฮวบ เกิดป่วยขึ้นมาอย่างฉับพลันไม่น่าเชื่อ ไม่ใช่โรคมันมาของมันเองหรอก เพราะไม่ว่าจะป่วยเล็ก จะป่วยหนัก อย่างไร ก็ต้องมีสาเหตุที่มาของโรคทั้งนั้นแหละ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ก็มีมากมายหลายอย่าง ซึ่งบางอย่างเราอาจจะคิดไม่ถึงเลยก็ ได้ ดังเช่นที่พระพุทธองค์มีตรัสไว้ ใน พระไตรปิฏกเล่ม 21 ข้อ 87 "ปุตตสูตร" ทรงกล่างถึงเหตุที่ทำให้คนเราต้องเจ็บป่วยมี 8 ประการด้วยกันคือ
1.ดี(อวัยวะภายใน) เป็นสมุฏฐาน
2.เสมหะ (เมือกจากลำคอหรือลำใส้) เป็นสมุฏฐาน
3.ลม(ภายในกาย) เป็นสมุฏฐาน
4.ประชุมกันเกิด (เชื้อโรค)
จาก 4 ข้อนี้ กล่าวโดยสรุปคือ เหตุที่ทำให้เจ็บป่วยทุกข์ยากลำบากเกิดขึ้นจากอวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติ อาจใช้งานหนักเกินไป อาจกินอาหารแสลงหรืออาหารเป็นพิษ อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อวัยวะบางส่วนไม่ปกติ หรือเกิดจากหลายๆสาเหตุประชุมรวมกันเล่นงานเราจนป่วยไข้
5.ฤดูแปรปรวน
6.การบริหารไม่สม่ำเสมอ
หากชีวิตเราขาดการบริหารร่างกาย อย่างสม่ำเสมอและพอดี อีกทั้งขาดการบริหารจิตใจ อย่างสมำเสมอ และพอดี ย่อมมีสุขภาพอ่อนแอเจ็บป่วยได้ หรือโต่งกับการใช้งานทางกายกับทางสมอง เอียงเทไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ขาดความพอดี ลงตัว นี่ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งของการทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น
7.การบาดเจ็บ
การบาดเจ็บจะโดยอุบัติเหตุ หรือประมาท จะโดยถูกทำร้ายหรือ เกิดจากการต่อสู้ ล้วนทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บแค่ฟกช้ำดำเขียว หรือจนกระทั่งเป็นบาดแผลฉกรรจ์
8.เกิดจากผลกรรม(บาป)
เป็นประการสำคัญสุดอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกให้รู้ว่า "บาปกรรม" เป็นตัวก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น
1.ดี(อวัยวะภายใน) เป็นสมุฏฐาน
2.เสมหะ (เมือกจากลำคอหรือลำใส้) เป็นสมุฏฐาน
3.ลม(ภายในกาย) เป็นสมุฏฐาน
4.ประชุมกันเกิด (เชื้อโรค)
จาก 4 ข้อนี้ กล่าวโดยสรุปคือ เหตุที่ทำให้เจ็บป่วยทุกข์ยากลำบากเกิดขึ้นจากอวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติ อาจใช้งานหนักเกินไป อาจกินอาหารแสลงหรืออาหารเป็นพิษ อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อวัยวะบางส่วนไม่ปกติ หรือเกิดจากหลายๆสาเหตุประชุมรวมกันเล่นงานเราจนป่วยไข้
5.ฤดูแปรปรวน
6.การบริหารไม่สม่ำเสมอ
หากชีวิตเราขาดการบริหารร่างกาย อย่างสม่ำเสมอและพอดี อีกทั้งขาดการบริหารจิตใจ อย่างสมำเสมอ และพอดี ย่อมมีสุขภาพอ่อนแอเจ็บป่วยได้ หรือโต่งกับการใช้งานทางกายกับทางสมอง เอียงเทไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ขาดความพอดี ลงตัว นี่ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งของการทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น
7.การบาดเจ็บ
การบาดเจ็บจะโดยอุบัติเหตุ หรือประมาท จะโดยถูกทำร้ายหรือ เกิดจากการต่อสู้ ล้วนทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บแค่ฟกช้ำดำเขียว หรือจนกระทั่งเป็นบาดแผลฉกรรจ์
8.เกิดจากผลกรรม(บาป)
เป็นประการสำคัญสุดอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกให้รู้ว่า "บาปกรรม" เป็นตัวก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)