วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การใช้ Channels (Photoshop)

การใช้ channel เพื่อสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษ

โหมดสีแต่ละโหมดจะประกอบด้วยแม่สีที่แตกต่างกันไป เช่น โหมดRGB ประกอบด้วย 3 สี ได้ แดง
เขียว และน้ำเงิน ขณะที่โหมด CMYK จะประกอบด้วย ฟ้า ม่วงแดง เหลือง และดำ
สีแต่สีดังกล่าวจะถูกแยกจัดเก็บไว้ เป็นคนละส่วนกันในภาพ (เหมือนกับเป็นภาพย่อยที่มีเฉพาะสีนั้นๆ) เรียกว่า “แชนแนล” เช่นสีแดงอยู่ในแชนแนล red สีเขียวอยู่ใน แชนแนล Green สีน้ำเงินอยู่ใน Channel Blue
เทคนิคพิเศษในการตกแต่งภาพหลายๆอย่างก็เกิดจากการทำงานแชนแนล เช่นการปรับสีในแต่ละแชนแนล หรือการผสมผสานแชนแนลของไฟล์ต่างๆเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังสามารถใช้แชนแนลในการสร้าง Mask ที่เรียกว่า Alpha Channel
โปรแกรม photoshop สามารถสร้าง แชนแนลได้มากถึง 24 แชนแนล ใน 1 ไฟล์ไม่ว่าจะเป็นแชนแนลของแต่ละสี แชนแนลสีพิเศษ (Spot Channel) หรือ Alpha Channel ก็ตาม
พาเลท Channels
การเปิดพาเล็ต แชนแนล ทำได้โดยเลือกคำสั่ง window -> Channels จากเมนูโดยในพาเล็ตนี้จะประกอบด้วยแชนแนลสีต่างๆ ที่มีใช้ในโหมดสีของไฟล์ปัจจุบัน คุณสามารถกำหนดให้แสดงเฉพาะแชนแนลที่ต้องการได้โดยคลิกลงบน แชนแนล นั้นๆหรือ คลิกไอคอนรูปดวงตาด้านหน้าแชนแนลด้านหน้าแชนแนลเพื่อซ่อน/แสดง แชนแนล
ในโหมดภาพที่มีมากกว่า 1 แชนแนล เช่น RGB หรือ CMYK เมื่อดูใน พาแลท แชนแนล จะเห็นสีหลักๆ อยู่แยกกัน นอกจากนี้ยังมีแชนแนลรวมที่เรียกว่า Cpmposite Channel อยู่ด้านบนสุด ซึ่ง แชนแนล นี้ไม่ไช่แชนแนลที่แท้จริง แต่เป็นส่วนที่โปรแกรมจัดไว้เพื่อให้เราดูหรือแก้ไขภาพในทุกแชนแนลสีได้พร้อมกัน
คุณอาจสังเกตว่าภาพไอคอนที่แสดงอยู่ในแชนแนลสีแต่ละช่องนั้น เป็นภาพขาวดำ แทนที่จะเป็นสีตามสีของ แชนแนล ความจริงแล้วสิ่งที่โปรแกรมจัดเก็บในแต่ละแชนแนลก็คือภาพขาวดำซึ่งแทนโทนสีของแชนแนลนั้นนั่นเอง เช่นในแชนแนล Red ก็จะเก็บภาพขาวดำซึ่งแทนโทนสีแดงของภาพ ดังนั้นหากคุณเลือกแสดงแชนแนลใดแชนแนลหนึ่งเพียงอันเดียวคุณจะเห็นภาพปรากฏเป็นขาวดำ แต่ถ้าเลือกแสดงมากกว่า 1 แชนแนล โปรแกรมจึงจะเริ่มผสมสี จากแต่ละแชนแนล เข้าด้วยกัน ทำให้เรามองเห็นภาพมีสีสันขึ้นมา
คุณสามารถสั่งให้โปรแกรมแสดงสีในแต่ละแชนแนลตามสีในแต่ละแชนแนล ตามสีของมันเอง (เช่น แชนแนล Red ให้แสดงภาพเป็นสีแดง) โดยเลือกคำสั่ง Edit-> Preferences ->Display ->Cursors แล้วเลือกออปชั่น Color Channels in Color
การปรับต่างสีโดยใช้แชนแนล
เราสามารถปรับแต่งสีของรูปภาพโดยใช้แชนแนล เนื่องจากแต่ละแชนแนลคือข้อมูลของสีหลักแต่ละสีซึ่งมีลักษณะเป็นภาพขาวดำแบบ Grayscale เมื่อคุณเปลี่ยนภาพเหล่านี้จะทำให้ข้อมูลของสีหลักเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลให้สีโดยรวมในรูปภาพเปลี่ยน

1.คลิกเลือกแชนแนลที่ต้องการปรับสี
2.สร้าง selection รอบส่วนที่ต้องการปรับแต่ง แล้วใช้เครื่องมือระบายสี หรือคำสั่งสำหรับตกแต่งภาพต่างๆ เพื่อแก้ไขภาพ
3.ทำข้อ 1-2 ซ้ำ สำหรับแชนแนลสีอื่นอีกตามต้องการ
4.เลือก แชนแนลสีรวม (Composite Channel)เพื่อดูผลลัพธ์โดยรวม

***ถ้าต้องการปรับสีเพิ่ม --- ให้ระบายด้วยสีอ่อน(ขาว) ***
++แต่ถ้าต้องการลดสีลง ------ ให้ระบายด้วยสีเข้ม (ดำ)+++
นอกจากการปรับเพิ่มหรือลดสีตามธรรมดาแล้วคุณยังสามารถสร้างเอฟเฟ็คให้กับภาพด้วยการดัดแปลงภาพในแชนแนล เช่นการใส่ฟิลเตอร์ชนิดต่างๆเป็นต้น
การสร้างเอฟเฟคต์พิเศษให้ภาพโดยการแยก และ รวม แชนแนล
ในการสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษ สามารถทำได้โดยการแยกแต่ละแชนแนลออกเป็นคนละไฟล์กัน ไฟล์ที่แยกออกมาจะอยู่ในโหมด Grayscale จากนั้นจึงปรับแต่งด้วยฟิลเตอร์หรือคำสั่งต่างๆ แล้วนำไฟล์แชนแนลหรือ บางแชนแนลเข้าด้วยกันเพื่อสร้างไฟล์ใหม่ที่มีเอฟเฟ็คต์แปลกตา
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้การแยกแชนแนลเพื่อลดขนาดของแต่ละไฟล์จนสามารถบันทึกลงบนแผ่นดิสก์ได้
การแยกแชนแนลทำได้กับไฟล์ที่มีเฉพาะเลเยอร์ Background เท่านั้น
การแยกแชนแนล.
การแยกแชนแนลทำได้โดยคลิกปุ่ม > บนพาเล็ท แชนแนล แล้วเลือกคำสั่ง split channels จากนั้นโปรแกรมจะแยกแชนแนลออกเป็นไฟล์ต่างๆ ในโหมด Grayscale ส่วนไฟล์ต้นฉบับจะถูกปิดไป
การปรับต่างแต่ละแชนแนล
1.คลิกเลือกไฟล์ของแชนแนลที่ต้องการปรับแต่ง
2.ปรับแต่งแสงเงาหรือใส่เอ็ฟเฟ็ตตามต้องการ
3.ปรับออปชั่นแล้วคลิกปุ่ม ok
4.ปรับแต่งไฟล์ของแชนแนลอื่นๆอีกตามต้องการ
การรวมแชนแนล
1. ลิกปุ่ม > บนพาเล็ต แชนแนล ของไฟล์ใดไฟล์หนึ่งแล้ว เลือกคำสั่ง Merge Channels
2. ในการรวมไฟล์กลับไปเป็นโหมดสีจำนวนแชนแนลเดิมให้คลิกปุ่ม OK บนไดอะล็อกบ็อกซ์ Merge Channels ทันที
3.จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Merge RGB channels ซึ่งคุณสามารถกำหนด

ไม่มีความคิดเห็น: